กุมมาสปิณฑชาดก ชาดกว่าด้วยอานิสงส์ถวายขนมกุมมาส
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยในการแย้มสรวลของพระองค์ ” “ ดูกร อานนท์ กุมาริกาผู้นี้จักได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าโกศลในวันนี้ทีเดียว เพราะผลแห่งการถวายก้อนขนมกุมมาสเหล่านี้ ”
สสปัณฑิตชาดก ชาดกว่าด้วยผู้สละชีวิตเป็นทาน
“ มิจำเป็นที่ผู้อื่นจะต้องล่วงรู้หรอกท่านพญากระต่าย คุณความดีในการเสียสละชีวิตเพื่อให้ทานของท่านในครั้งนี้จะคงอยู่ปรากฎตลอดไป ” ทันทีที่กล่าวจบท้าวสักกะในร่างของพราหมณ์ ก็ทำการเขียนรูปของพญากระต่ายไว้บนดวงจันทร์ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ในการเสียสละครั้งนี้ให้อยู่สืบไป
กัฏฐหาริชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษแห่งการแบ่งชนชั้น
ณ ถิ่นกำเนิดพระพุทธศาสนานั้นยังมีการถือชนชั้นกีดกันวรรณะกันอย่างรุนแรงแม้แต่ในหมู่พระประยูรญาติขององค์พระพุทธศาสดาเอง อุษาสางวาระหนึ่งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอดส่องพระญาณก็ทรงพบว่า ความทุกข์เวทจากวรรณะได้เกิดกับพระญาติแห่งศากยวงศ์
โมรณัจจชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ขาดหิริโอตัปปะ
ครั้นเมื่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธรัฐแล้ว ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จจากนครราชคฤห์ อันมีฉายาว่าเบญจคีรี ที่มีภูเขาทั้ง 5 เป็นปราการมาประทับยังนครสาวัตถีในแคว้นโกศลนั้น แสงธรรมจากพระพุทธองค์ก็ส่องรัศมีกระจ่างไปทั่วแผ่นดินอนุทวีป
อานิสงส์ถวายยารักษาโรค
ผู้ใดได้ถวายเภสัชแก่เราตถาคต บุคคลนั้นจักรื่นเริงในสุคติโลกสวรรค์เป็นเวลาแสนมหากัป เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ครองทวีปทั้งสี่ ๑,๐๐๐ ชาติ และไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือเทวดา ก็จะเป็นผู้มีโรคน้อย มีอาพาธน้อย ไปทุกภพทุกชาติ
อลีนจิตตชาดก ชาดกว่าด้วยกัลยาณมิตร
ณ นครสาวัตถีมีภิกษุรูปหนึ่งเมื่อบวชแล้วก็ไม่สามารถบรรลุในพระธรรมได้สักที ภิกษุรูปนี้หมดความหวัง ละความเพียรที่จะปฏิบัติธรรมอีกต่อไป
สีลวนาคชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ดื้อรั้นว่ายาก
อาจารย์นักกระโดดข้ามหอกผู้ดื้อรั้น ผู้ไม่ยอมรับฟังคำเตือนของใคร แม้แต่ศิษย์ที่รักและหวังดีต่อเขา และด้วยความอวดดี ดื้อดึงของเขา เลยทำให้เขาพบจุดจบลงอย่างน่าอนาถ
ตินทุกชาดก-ชาดกว่าด้วยเรื่องอุบายหนีตาย
ในสมัยพุทธกาลองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหารเผยแผ่ธรรมะคำสอนให้แก่เหล่าพุทธสาวกได้ซึมซับในพระธรรมคำสอน ด้วยพระปัญญาบารมีของพระองค์ได้ทำให้เหล่าภิกษุในพระเชตวันต่างรู้สึกเลื่อมใสและเคารพนับถือเป็นยิ่งนัก
พกชาดก-ชาดกว่าด้วยบาปกรรมของผู้ฉลาดแกมโกง
พระเชตะวันมหาวิหาร ณ เวลาในพุทธกาลสมัยหนึ่งยังมีพระภิกษุผู้มีศิลปะในการตัดเย็บ ย้อมสี ปะ ชุนจีวร ฝีมือดีจนเป็นที่ยอมรับในหมู่สงฆ์ ภิกษุรูปนี้ชาญฉลาดในการทำจีวรให้งาม ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายพากันขนานนามตามความหมายนั้นว่า พระจีวรวัฒฑกะ
คิริทัตตชาดก-ชาดกว่าด้วยการเอาอย่าง
สมัยนั้นมีสหายสองคนเป็นชาวเมืองราชคฤห์ สองสหายนั้นคนหนึ่งบวชในสำนักพระศาสดาอีกคนหนึ่งบวชในสำนักของพระเทวทัต สหายทั้งสองนั้นย่อมได้พบเห็นกันเสมอ แม้ไปวิหารก็ยังได้พบเห็นกัน ภิกษุที่บวชในสำนักพระศาสดาเมื่อบวชแล้วต้องปฏิบัติกิจสงฆ์อยู่เป็นนิจ ต่างจากสหายที่บวชในสำนักพระเทวทัตที่ไม่มีกิจใดที่พึงต้องทำ